การสร้างเครื่องมือประเมินและตัวชี้วัดระดับการพัฒนาจิตวิญญาณ สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข (17)

การสร้างแบบวัดใหม่ มีการสร้างแบบวัดใหม่ 4 แบบวัด ได้แก่ The offender’s Spirituality scale, The transformative experience Questionnaire, The spirituality scale เป็นแบบวัดที่มีกลุ่มเป้าหมายและการนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกัน

การประมวลเครื่องมือวัด

จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบ่งเครื่องมือวัดทางศาสนาและจิตวิญญาณตามเนื้อหาที่วัดได้ 7 กลุ่ม เครื่องมือวัดส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือที่ใช้มาตรประเมินค่าแบบ Likert scale และเป็นเครื่องมือที่วัดในมิติเดียว โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเป้าหมายของการวัดเป็นผู้นับถือศาสนาคริสต์ และอยู่ในวัยทำงาน ข้อมูลเกี่ยวกับความหมาย ลักษณะของการถาม คุณภาพของเครื่องมือมีดังต่อไปนี้

1. วัดแรงจูงใจ กลุ่มนี้มีพื้นฐานเป็นการอธิบายเชื่อมระหว่าง การที่บุคคลมีความใกล้ชิดกับสิ่ง

ศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้า นั้นเป็นการทำให้ชีวิตมีเป้าหมายและการมีความหมายของชีวิต ที่จะเป็นแรงจูงใจให้บุคคลต่อสู้เพื่อบรรลุเป้าหมาย เครื่องมือวัดในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยเครื่องมือดังนี้

1.1 Intrinsic/Extrinsic–Revised Scale (Kathleen & Lawler-Row.2010:8 ;citing Gorsuch & McPherson, 1989) ประกอบด้วยข้อคำถาม 14 ข้อ ใช้มาตรประเมินค่า แบบ Likert scale 5 ระดับ ตั้งแต่ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง-เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายใน .83 ตัวอย่างของข้อคำถาม เช่น การดำเนินชีวิตของฉันได้ยึดหลักศาสนาเป็นแนวทาง เหตุผลที่ฉันปฏิบัติสมาธิเพราะฉันรู้สึกดีที่ได้ทำ

1.2 Spiritual Transcendence Scale : STS (Dy-Liacco et al.2009:40; King & Crowther.2004:92 ;citing Piedmont, 1999) เป็นการวัดแรงจูงใจภายในที่จะหา ความหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า เป็นแบบวัดที่ได้ทดลองใช้กับ ศาสนาคริสต์ อินดู และอิสลามในประเทศอินเดียแล้ว มีข้อคำถามจำนวน 24 ข้อ ใช้มาตรประเมินค่า 5 ระดับจาก ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง -เห็นด้วยอย่างยิ่ง ประกอบด้วยแบบวัดย่อย 3 แบบวัดย่อย ได้แก่ connectedness, prayer fulfillment, และ universality และแบบวัด Religion Internalization scale (Ryan et al.,1993)

2. วัดพฤติกรรม เป็นกลุ่มของแบบวัดที่เก็บข้อมูลระดับของพฤติกรรม ได้แก่

2.1 Religious Involvement Scale ประกอบด้วยข้อคำถาม 4 ข้อ วัดการเข้าร่วมทางศาสนา โดยใช้การเลือกตอบ ประกอบด้วย การถามว่า 1) ท่านอ่านคำสอนหลักทางศาสนา(เช่น Bible) บ่อยครั้ง แล้วให้เลือกตอบ 7 ระดับ จากไม่เคย- หลายครั้งใน 1 อาทิตย์ 2) อ่านข้อเขียน หนังสือ ทางศาสนาบ่อยครั้งหรือไม่ (ไม่เคย-หลายครั้งต่ออาทิตย์) 3) สวดภาวนา (ไม่เคย-ทุกวัน) 4) ไปร่วมปฏิบัติศาสนากิจทางศาสนา (ไม่เคย-บ่อย) คะแนนแต่ละข้อจะแปลงเป็นคะแนนมาตรฐานแล้วนำมารวมกันเป็นดัชนีการเข้าร่วมทางศาสนา ค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายในมีค่า .85 (Piedmont et al. 2009 :166-167;Dy-Liacco et al.2009 :36 citing Piedmont, 2001)

2.2 Global Religiousness and Spirituality ประกอบด้วยคำถาม 4 ข้อ ที่ถามความถี่ของการไปโบสถ์ การสวดต่อพระเจ้านอกจากที่โบสถ์ การระบุว่าตนเองเป็นผู้มีศาสนา หรือเป็นผู้ศรัทธาต่อจิตวิญญาณ ค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายใน .78 (Warner, Mahoney & Krumrei.2009 : 238)