สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (13)

เข้าใจในความรู้สึกของญาติ พอเราเข้าใจในความรู้สึกตรงนี้มันทำให้เราไปคิดรูปแบบในการที่เราจะไป Empowerment ผู้ป่วย หรือน้องเราที่จะให้ดูแล เพราะว่าตัวเราเองนี่เราจะประสบ พอตอนหลังมาที่เราอยู่ด้วยกัน เราจะอยู่ด้วยความสบายใจเพราะว่าเราเริ่มปรับที่ตัวเราเองก่อน แต่ในกระบวนการที่ปรับ เราเอาความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นกับเราไปใช้ เราไม่ได้ไปสั่งให้เขาทำโดยที่ฝืนความรู้สึก โดยที่ไม่เข้าใจความรู้สึก…

(ลปรร.ภาคอีสาน)

ทั้งนี้แม้การปรับเข้าหาผู้อื่นจะเริ่มต้นจากการปฏิเสธตนเอง แต่ในที่สุดแล้วกลับมีผลย้อนสู่ความตระหนักในความมีความหมายของตนเองอย่างรุ่มรวยลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทำให้เข้าใจตัวตนของตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

…ถึงตอนนี้ผมมีความสุข บทสุดท้ายแล้ว มีความสุขกับการดูแลคนไข้ตรงนี้ รู้ไหมครับ ตรงที่ผมจะพยายามเข้าใจเขา วิธีที่จะพยายามเข้าใจคือการ tuning เป็นตัวเขา ผมว่าผมลองให้เขาเล่าเรื่องแล้วลอง tune ได้เป็นประสบการณ์ของเขาได้พอสมควร วิธีช่วยก็คือแล้วเราก็ถอยออกมาส่วน หนึ่ง เสร็จแล้วเราก็แนะนําอะไร ซึ่งเขาทําได้ อันนี้เรื่องสําคัญ ถ้าเราไม่ tune เป็นตัวเขา เราแนะนําไม่ได้ ตกลงว่าช่วงนี้ผมตรวจคนไข้วันหนึ่ง 40 คนจิตเวชนะครับ ก็โดยมีความสุขที่จะได้เรียนรู้คนอื่น ในขณะที่ tune นี่ เราก็จะได้เรียนรู้ว่าทําไมเขาเป็นอย่างนี้ น่าแปลกมาก เราไม่เหมือนเขา ลองเป็นเขาแล้วเราก็รู้ว่าถ้าเราอยู่ในสถานการณ์อย่างเขา เราจะ react อย่างไร ในวันหนึ่งตรวจ 40 คน เราก็เข้าไปอยู่ใน 40 สถานการณ์ เข้าใจคนมากขึ้น 40 คน มันก็เป็นความสุขนะครับ รู้เขารู้เราแล้วก็เติบโต ไม่ได้รักษาโรค เข้าใจคนแล้วก็รักษาคน…

(ลปรร.ภาคกลาง)

4.4 ด้านลบของความมีความหมาย

ทั้งนี้ จากข้อมูลนั้นพบว่าการมีความตระหนักในความมีความหมายนี้ ก็มิใช่จะกล่าวได้ว่าดีไปเสียทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น

…พ่อรู้ไหมว่าหนูเป็นพยาบาล แล้วก็ดูแลคนติดเหล้าอยู่ พ่อทำอย่างนี้พ่อหมายความว่ายังไง…ผมฟังผมก็ตกใจพูดมาแรงมากเลย แกก็นิ่งอยู่พักหนึ่ง โอเค เมื่อก่อนพ่อไม่ได้ติดเหล้า พ่อเพิ่งมาติดเหล้าทีหลัง เดิมพ่อทำงานใน รพ. ที่หนูทำนี่แหละ ทำงานดีมากด้วยซ้ำไปได้รับรางวัลทุกปีเป็นคนงานดีเด่น จนกระทั่งวันหนึ่งแกได้รับอุบัติเหตุขาพิการ ตั้งแต่นั้นมางานของแกคุณภาพก็ลดลง ทีเคยได้รางวัลเกียรติยศคุณค่าอะไรมันก็หายไป แล้วแกก็พูดว่าพ่อมีทางเลือกสองอย่าง หนึ่งก็คือยอมรับว่าแกพิการและด้อยคุณค่าลง สองก็คือกินเหล้าเพื่อให้ลืมไปว่าแกเป็นคนพิการ แล้วพ่อเลือกอย่างที่สอง…

(ลปรร.ภาคกลาง)

…ผมก็รู้สึกอย่างนึงว่าคนทำดีมักจะติดกับตัวเอง ผมเรียกว่าเป็นกับดักความดีนะ หมายถึงว่า เราทำดีมากๆ แล้วรู้สึกว่าเมื่อใดก็ตามที่ความดีของเราไม่ได้รับการตอบสนองอย่างสาสม รู้สึกไหมครับบางทีเราทำความดีแล้วไม่ได้รับการตอบสนองอย่างสาสมเนี่ย มันเจ็บลึกๆ ในใจนะ แค่บางทีคนที่เราทำดีต่อ แค่ไม่ชำเลืองตามองเรา แค่ไม่รู้สึกอะไรดีๆ ตอบกลับคืนมา รู้สึกว่ามันเจ็บจึ้กอยู่ บางทีเรารู้บ้าง เราไม่รู้บ้าง ไอ้ตอนที่เราไม่รู้ว่าเรารู้สึกเจ็บ ผมว่ามันเจ็บยิ่งกว่า เพราะว่ามันจะกลายเป็นความอคติ และอีกอย่างที่เรามองย้อนกลับไป คนๆ นี้ทำไมทำแบบนี้กับเรา ทั้งๆ ที่เราทำดีกับเขามากมาย ความรู้สึกแว๊บเดียวแล้วเรารู้ไม่ทัน ตอนนั้นน่ะเป็นเรื่อง นี่พูดทีเล่นทีจริงนะ แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่ผมเองก็เจอเป็นประจำ แค่เค้ามอง อาจจะแค่ชำเลืองๆ เหล่ๆ นิดเดียวเท่านั้นเอง คำพูดบางคำแค่หางเสียงไม่กระดกขึ้นหรืออะไรเนี้ย บางทีใจเรารู้สึกแล้วว่าเราถูกกระทบด้วยกรงขังที่เราสร้างไว้ล้อมตัวเอง วันนี้ก็ขอนำเสนอว่าบางทีมันก็น่ากลัวไม่ใช่เล่นนะครับ ความดีที่ไม่ได้รับการตอบแทนอย่างสาสมเนี่ย…

(ลปรร.ภาคเหนือ)