สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (9)

ใช้ความทรมานทั้งกาย ทั้งความทุกข์ทรมานทางจิต…

หรือเชื่อว่าควรทำความดี เช่น

..ถามว่าผมมีศรัทธาไหม บอกว่าเคยมี ตอนนี้ไม่มีนะฮะ มีแต่ความเชื่อที่พร้อมจะเปลี่ยน เพราะว่าศรัทธาพอมันถึงจุดหนึ่ง ผมรู้ว่ามันเป็นอุปสรรคของการที่ทำให้เราต้องกำจัดบางอย่าง ก็เลยมีความเชื่อ ตอบอาจารย์จริงๆ เพราะไม่รู้จะตอบยังไงจริงๆ นะฮะ เพียงแต่ว่านั่นคือชีวทัศน์ของผม แล้วโลกทัศน์นั้นก็คือว่าเวลาโลกนั้นเกิดขึ้นอะไรคือความจริง…ก็ไม่รู้ว่าอะไรคือความจริงเหมือนกัน แต่ว่าเรามีหน้าที่ต้อง contribute ในสิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อโลกนี้…

(ลปรร.ภาคกลาง)

หรือเชื่อในความดีและศักยภาพของคน

…เจ้าหน้าที่ของเราทุกคนที่มีจิตใจที่ดี แต่เพียงแต่ว่าใครจะมีโอกาสได้เรียนรู้ทุกข์ ซึมซับทุกข์ เข้าใจทุกข์ ของระบบได้มากกว่ากัน แล้วก็เอาทุกข์นั้นน่ะมาพัฒนา…

(ลปรร.ภาคอีสาน)

…ไม่มีใครที่ไม่มีสิ่งดีในตัวเอง ทุกคนมีดีคือเวลามอง คือตัวเองจะเป็นคนที่น้องมาเล่าตลอดคนโน้นก็ไม่ดีคนนี้ก็ไม่ดีเนี่ยตัวเองจะดึงสิ่งที่ดีคือแต่เขามีดีตรงนี้นะเรามีความรู้สึกว่า น้องทุกคนจริงๆ มีส่วนดีเยอะแต่เป็นอารมณ์ เราก็พยายามว่าจริงๆ เขามีส่วนดีตรงนี้มีนะ ไม่มีใครหรอกที่ไม่มีดีซะเลย แต่ถ้าตรงนั้นมาแล้วเป็นเหมือนประโยชน์กับคนอื่น เราก็ดึงมาสิ แต่ส่วนที่เขาไม่ดีหรือส่วนที่ไม่ใช่ว่าไม่ดีแต่เขายังไม่สมบูรณ์ มันคงไม่ได้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนได้ภายในวันสองวัน ถ้าสมมติเราส่งเสริมส่วนที่เขาดีขึ้นในส่วนที่เขาไม่สมบูรณ์ มันมีสิทธิ์ที่จะสมบูรณ์ไปเรื่อยๆ…

(ลปรร.ภาคกลาง)

เอาใจเขามาใส่ใจเรา

นอกจาก การคิดเชิงบวกแล้ว ยังมีอีกวิธีที่พบว่าใช้บ่อย คือ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เช่น

…เรามีแผลขนาดนี้ เราเจ็บแค่นี้ คนไข้มีแผลขนาดนั้นมันจะเจ็บขนาดไหน เราต้องนึกถึงว่าเราจะรักคนไข้ได้เนี่ย เราต้องรักตัวเราก่อน เราอยากให้คนไข้อยู่ในใจเราได้เนี่ย เราต้องไปนั่งอยู่ในใจคนไข้ก่อน เหมือนกันมันไม่มีอะไรเป็นสิ่งตายตัวตรงนั้นหรอกค่ะ ตัวตนของเรามันไม่มีแล้วล่ะ ว่าฉันเป็นพยาบาลนะ คุณเป็นคนไข้ ไม่ใช่ ถ้าเรามองภาพคนไข้ว่าคนๆ นั้นคือฉัน ฉันจะรู้สึกอย่างไร แล้วเราจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง…

…คิดว่าสมมติว่าเรา เป็นญาติเรา ถ้าไม่มีที่พึ่งเลย เราก็จะเคว้งนะคะ แต่ถ้ามีเจ้าหน้าที่มีคอยเป็นที่พึ่งให้เรา ก็น่าจะมีกําลังใจหรือมีแรงที่จะทําอย่างอื่นต่อได้… …ที่หอผู้ป่วยเราคิดว่าผู้ป่วยคือญาติพี่น้องเรา การให้บริการก็เหมือนเป็นญาติเรา คิดว่าเขาเป็นญาติเราคนหนึ่ง เอื้ออาทรทําทุกอย่างเต็มที่ ให้ความเท่าเทียมกัน ช่วยเหลือทุกอย่างที่เราสามารถจะทําได้…

…อย่าไปคิดถึงกลิ่น แล้วก็คิดว่าถ้าคุณลุงนี้คือพ่อของเรา ซึ่งด้วยตัวโรคนี่มันกำจัดกลิ่นไม่ออก วิธีการรักษาไม่หายเราจะทำยังไง…ก็ว่าถ้าเป็นคุณพ่อของเราๆ ก็ไม่มีทางเลือกต้องดูแล…

(ลปรร.ภาคกลาง)

วิธีการนี้เป็นการสร้างความมีความหมายด้วยการเชื่อมโยงสิ่งที่ประสบเข้ากับสิ่งที่มีความมีความหมายอยู่ก่อน เช่น ประสบการณ์ดั้งเดิม ความปรารถนาของตนเอง หรือบุคคลที่ตนเองเป็นห่วง วิธีการที่อาศัยหลักการเชื่อมโยงสู่สิ่งที่มีความหมายอีกวิธีคือการคำนึงถึงบทบาทหน้าที่หรืออุดมการณ์ของตนเอง

…จริงๆ ตอนผมอยู่ รพ.แพทย์เนี่ย อจ.ก็ มักจะสอนผมว่าให้เห็นใจคนไข้ ดูแลคนไข้ ทําอย่างนู้นอย่างนี้ สารพัดอย่าง แต่ในชีวิตจริงมันไม่มีน่ะฮะ มัน ไม่มีอย่างนั้นจริงๆ มันก็เลยทําให้ผมรู้สึกว่า เอ๊ะ ถ้าวันนึงเนี่ยผมมีโอกาสทําอะไรตรงนี้เนี่ย ผมก็จะพยายาม ทําให้มันดีที่สุด เผอิญตอนนี้ชีวิตผมมาถึงก็คือ บทบาทของผมตอนนี้ก็คือ เป็นพ่อ ผมมีลูกสาวหนึ่งคน นี่คือ ความรับผิดชอบสูงสุด ผมมีความรู้สึกเลยว่าผมจะต้องรับผิดชอบลูกสาวคนนี้จนกระทั่งเค้าโต อันที่สองคือคุณ แม่ผม ตอนนี้เป็นอัมพาตนั่ง wheel chair เหมือนกัน อันนี้ก็เป็นความรับผิดชอบในฐานะลูก หน้าที่ที่สามของผมตอนนี้ก็คือ หน้าที่การเป็นหมอดูแลคนไข้และก็เป็น อจ.แพทย์ เพราะฉะนั้นเป้าหมายของผมก็คือ ถ้ายังมี แรงและยังทําได้ก็จะทํา 3 หน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุดนะครับ…

(ลปรร.ภาคเหนือ)

…ถ้าจะเป็นโค้ชหรือเป็นครูคุณต้องดีใจในความเป็นตัวตนของเด็ก นร. คนนี้ได้ ถ้าคุณจะเป็นหมอหรือเป็นพยาบาล คุณต้องมีจิตใจหรือความภาคภูมิใจในสิ่งที่เขาเป็นให้ได้…

…เค้าจะปลูกฝังตั้งแต่เข้าปีแรกจนถึงปีสุดท้ายเลยว่า คุณเป็นพยาบาลคุณต้องมีจรรยาบรรณอย่างนี้คุณมีหน้าที่ในการดูแลคนไข้ ในการช่วยเหลือ แล้วมันก็จะซึมซับไปในตัวของเราเองหน่ะค่ะ ว่าเราเป็นพยาบาลนะ เราต้องดูแลคนไข้ไม่นึกถึงประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมอะไรประมาณเนี้ยค่ะ…

(ลปรร.ภาคกลาง)

มีข้อสังเกตว่าในกรณีของบทบาทหน้าที่ ลักษณะการเข้าถึงอาจจะอยู่ในรูปของการประเมินสถานการณ์ โดยอาศัยมาตรฐานของบทบาทหน้าที่ที่เห็นว่ามีลักษณะตรงกับอุดมการณ์ ดังตัวอย่างข้างต้น แต่บางครั้งก็อยู่ในลักษณะการไต่ถามบทบาทหน้าที่ เนื่องจากเห็นว่าไม่ตรงกับสิ่งที่เชื่อว่าเป็นแก่นหรืออุดมการณ์

…แล้วเค้าก็มองว่าไอ้พวกนี้มันไปทำอะไร ไม่ใช่งานของมันเลยนะ ผู้ใหญ่เค้าจะมองอย่างนี้ ไอ้งานรณรงค์ เย้วๆ น่ะ งานส่งเสริม มันเป็นงานของเวชกรรมสังคม งานของชุมชน มันเป็นงานนอก เราเป็นพยาบาลทำไมเราไม่ดูแลคนไข้ตรงนี้ แต่พวกเรามองกันว่าทำไมเราไม่ลงไปดักซะตั้งแต่ก่อนที่จะเป็น ป้องกันผู้สูบรายใหม่นะ แล้วคนที่เป็นโรคแล้วให้หยุดได้ไม่ให้โรคลุกลามนะ ทำไมเราไม่ดูแลตรงส่วนนั้น ช่วยให้เค้าเลิกบุหรี่ได้…

(ลปรร.ภาคกลาง)

…คำว่าคนดีที่สังคมบอกว่าดีรึเปล่า คำว่าดีแล้วทำให้พี่ฮวงทุกข์มั๊ย พี่ฮวงคิดว่าตัวเองทุกข์ ทุกข์กับคำว่าความดีที่สังคมตีกรอบไว้ว่าดี แล้วเออ..ต้องเป็นพยาบาล เป็นวิชาชีพที่ขาวสะอาด เป็นวิชาชีพที่สังคมยอมรับ แต่ว่าพอมาอยู่จริงๆ พี่ฮวงกลับคิดว่านี่เป็นการติดกรอบเพราะอยู่ในระบบอีก ที่ระบบถูกบีบให้ทำงานอย่างที่พี่ฮวงอยากจะทำเชิงคุณภาพ เพราะว่าคำว่าดี มาตรฐานตาม รพ. บอกต้องเยี่ยมกี่ครั้ง ต้องลงไปเวลานี้ สิ่งที่ผอ.กำหนด นโยบายหรืออะไรก็แล้วแต่มันเป็นการตีกรอบ แต่พี่ฮวงเป็นคนลึกซึ้งกว่านั้น คิดลึกไปกว่าคนอื่น คือพี่ฮวงอยากทำให้ลึกลงไปในชีวิตของคนๆ นั้น อยากทำให้ดีที่สุดการดูแลคนไข้คนนั้น…

(ลปรร.ภาคอีสาน)