อุ้มบุญ (1) กฎหมายชีวจริยธรรม

ศึกษาทบทวนและระบุปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ วิเคราะห์ช่องว่างหรือความไม่เหมาะสมของกฎหมายของประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และเสนอแนวทางตลอดจนหลักการและเหตุผลในการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายในเรื่องนี้ของต่างประเทศ

กรอบการดำเนินงานดังกล่าว มุ่งให้ได้รับข้อมูลดังนี้

1. สภาพการณ์ของการปฏิสนธิเทียมและหลักการรวมทั้งเหตุผลของข้อสนับสนุนและข้อโต้แย้งเรื่องความเหมาะสมในการใช้วิธีการปฏิสนธิเทียม

1.1 สภาพการณ์ของการปฏิสนธิเทียม

(1) วิธีการทางการแพทย์ที่ใช้เพื่อการปฏิสนธิเทียม

– ความหมายและทางปฏิบัติของ IVF GIFT ICSI surrogate mother

(2) สาเหตุและความจำเป็นในการใช้การปฏิสนธิเทียม

– สนองความต้องการมีบุตร

– การค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์

(3) ผลกระทบต่อสังคมและกฎหมาย

– ปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจ

– ปัญหาด้านสาธารณสุข

– ปัญหาต่างๆด้านกฎหมายและจริยธรรม( โดยเฉพาะสิทธิของเด็กและกฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว)

1.2 หลักการทางกฎหมายและเหตุผลของข้อสนับสนุนและข้อโต้แย้งเรื่องความเหมาะสมในการใช้วิธีการปฏิสนธิเทียม

(1) หลักการทางกฎหมายและเหตุผลของข้อสนับสนุนในการใช้วิธีการปฏิสนธิเทียม

– หลักสิทธิมนุษยชน

– หลักความยินยอมของบุคคล

– หลักสิทธิในร่างกายมนุษย์

– หลักสิทธิส่วนตัว

(2) เหตุผลโต้แย้งการใช้วิธีการปฏิสนธิเทียม

– หลักการใช้สิทธิเสรีภาพอย่างมีข้อจำกัด

– ความยุ่งยากและซับซ้อนทางกฎหมาย

– ความไม่เหมาะสมในการใช้การปฏิสนธิเทียมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณี

• หลังจากเจ้าของไข่ สเปิร์ม ตายแล้ว

• หลังจากเจ้าของไข่ สเปิร์ม หย่าร้างกันหรือไม่อยู่ร่วมกันอีกต่อไป

• ทำโดยบุคคลเพศเดียวกันซึ่งประสงค์จะเป็นผู้ปกครองของเด็ก

• นักโทษ

– ปัญหาเกี่ยวกับกรณียกเว้นที่อาจได้รับอนุญาตให้ใช้วิธีปฏิสนธิเทียมได้( เรื่องเงื่อนไขทางกฎหมายเพื่อควบคุมทางปฏิบัติที่เหมาะสมและปลอดภัย)

2. ปัญหาต่างๆด้านกฎหมายและจริยธรรมจากทางปฏิบัติเรื่องการปฏิสนธิเทียม และการคัดเลือกทางพันธุกรรม

2.1 ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับตัวอ่อนและสภาพบุคคลตลอดจนสิทธิของเด็กที่จะเกิดและเกิดมาแล้ว

(1) สถานะทางกฎหมายของตัวอ่อน ไข่ และสเปิร์ม

– ปัญหาเรื่องฐานะของการเป็นทรัพย์

– ปัญหาอันเกิดจากการทำสัญญาให้หรือซื้อขายกัน

– ปัญหาเรื่องการใช้ การเก็บรักษา การคัดเลือกและการกำจัดตัวอ่อน

– ปัญหาการคัดเลือกทางพันธุกรรม

• การคัดเลือกเพศทารก

• การคัดเลือกโรค