ศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ ตอนที่ 3

1. ด้านบุคลากร และการบริหารจัดการ

2. ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย

3. ด้านวิชาการ และกิจกรรมตามหลักสูตร คุณลักษณะของเด็กที่พึงประสงค์ 12 ประการ การจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมประจำวัน

4. ด้านการมีส่วนร่วม การสนับสนุนจากชุมชน

มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ ของกระทรวงสาธารณสุข

1.การส่งเสริมสุขภาพ

2.การส่งเสริมพัฒนาการ

3.อาหารสะอาด ปลอดภัย

4.สิ่งแวดล้อมสะอาด ปลอดภัย

5.บุคลากรที่มีคุณภาพ

6.การมีส่วนร่วมของชุมชน

โดยกระทรวงสาธารณสุขจะเน้น สุขภาพอนามัยเป็นส่วนใหญ่ ส่วนประเด็นอาหารปลอดภัย สิ่งแวดล้อม บุคลากรและการมีส่วนร่วม บางส่วนจะทับซ้อนกัน เพียงแต่มาร่วมกันเป็นเรื่อง ๆ ของแต่ละหน่วยงาน เช่น กระทรวงศึกษาธิการมีทำหลักสูตรปฐมวัยใน 3-5 ปี มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์หลายข้อ คือ เด็กต้องมีการเติบโตแข็งแรง สุขนิสัยที่ดี สุขภาพจิตดี มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีทั้งหมด 9 ข้อโดยนำมาแยกเป็นข้อย่อยจะทำเป็นลักษณะตัวชี้วัด มาตรฐานเด็กต่ำกว่า 3 ปี ก่อนปี 2544 ก่อน พรบ.ออกมา มีการรวบรวมระดมความคิดเห็น และทุกหน่วยงานนำไปเป็นมาตรฐานของตัวเอง รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุขด้วย

การดำเนินงานโครงการศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่นี้ ไม่สามารถทำได้สำเร็จโดยใครหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่ต้องทำงานอย่างบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกรมอนามัยได้ดำเนินการร่วมกับเครือข่าย ตั้งแต่การจัดทำมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ร่วมกับกรมต่าง ๆ ได้แก่ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมการศาสนา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมพัฒนาชุมชนเป็นต้น โดยมีการดำเนินการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ได้มาตรฐาน เป็นต้น

การพัฒนาเด็กปฐมวัย รอไม่ได้

การพัฒนาเด็กปฐมวัยนี้รอไม่ได้ “สายแล้วสายเลย” รัฐบาลและหน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบ ต้องเร่งบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ได้มาตรฐานโดยให้ศูนย์เด็กเล็กต้องได้รับการสนับสนุนทั้งในด้านงบประมาณ การพัฒนาบุคลากรดูแลเด็กเล็กประจำศูนย์ การส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก อุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็ก เช่น ของเล่น หนังสือ เครื่องดนตรี ฯลฯ อันส่งผลให้เด็กเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการสมดุล ทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญามากขึ้น