จดหมายข่าว “สถาบันอุดมศึกษา สร้างพลังฐานรากประเทศบนฐานความรู้”

การศึกษาจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ฐานรากของประเทศได้ แต่ทุกวันนี้ระบบการศึกษาของไทยยังคงเน้นให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ บวกลบคูณหารเป็น ใช้ระบบท่องจำเพื่อนำไปสอบแข่งขัน แต่กลับขาดนวัตกรรม ขาดความคิดริเริ่มใหม่ๆ ขณะเดียวกันยังขาดการสอนให้นักเรียนมีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพที่จะนำไปสู่ชีวิตและการงานที่ดีต่อไปในอนาคต ดร.มีชัย วีระไวทยะ

จดหมายข่าว “สื่อคือโรงเรียนของสังคม”

หลักคิดสำคัญที่ทำให้เราต้องหันมาพัฒนาสื่อให้เป็นโรงเรียนของสังคม เพราะสื่อมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับกลไกการเรียนรู้ ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆที่ คำถามสำคัญคือ ทำอย่างไรให้สังคมไทยเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง รศ.จุมพล รอดคำดี

จดหมายข่าว “อาชีวะสัมมาชีพ”

ถ้าเด็กอาชีวะมีคุณภาพ สถานประกอบการก็จะได้เด็กที่เก่งและพร้อมทำงานได้ทันที ถ้าเรามีคนเก่งๆ ประเทศก็จะเจริญเติบโตต่อไปได้ และที่สำคัญคนที่เก่งก็ยังช่วยสอนเพื่อนได้อีก จึงเป็นเหตุผลว่าถึงอย่างไรประเทศก็ต้องมีอาชีวะ ไม่มีไม่ได้ ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

สถานการณ์ของโลกในศตวรรษที่ 21 แตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ19 เป็นอย่างมาก มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี รวมถึงสิ่งแวดล้อม การศึกษาจึงต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความเป­ลี่ยนแปลง ดังนั้นทักษะแห่งอนาคตใหม่ หรือ 21st century skills จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 ด้าน คือ 1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning skill and Innovation) 2. ทักษะชีวิตและการประกอบอาชีพ (Life skill and career skill) 3. ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร เทคโนโลยี (Information and Technology skill)

หนังสือ คน(ไม่)ธรรมดา

เราต่างมาพร้อมกับพรวิเศษ ที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน นั่นกระมัง ที่เราไม่ต้องรอคอยผู้วิเศษหรือซุปเปอร์ฮีโร่ หลายชีวิตในหนังสือเล่มนี้สะท้อนให้เห็นว่า.. คุณค่าและความสุขของชีวิตไม่ได้อยู่ที่หน้าที่การงานใหญ่โต มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย

1 37 38 39 40 41