วิธีพัฒนาคนด้วยการสอบปรนัย ต่างจากพัฒนาคนด้วย refletion (ต่อ)

ทักษะชีวิตสักเท่าไร นักเรียนยังไม่พัฒนาทักษะ IT skills เลย ฯลฯ อันที่จริงคือคุยกันเรื่อง ๑๒ องค์ประกอบ PBL นั่นเอง ไม่เห็นท่านไหนพูดเรื่องทฤษฎี หลักการ หรือตำราเลยสักคน

๒. ขณะที่ครูท่านหนึ่งพูด ท่านอื่นในวงจะฟังอย่างตั้งใจ (deep listening) จับเนื้อเรื่องและใจความได้ เข้าใจเนื้อหา เข้าใจเจตนาผู้เล่า และบางครั้งถึงขนาดเปลี่ยนมุมมองวิธีคิดของตนเองต่อเรื่องนั้นๆ

๓. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนเอง (sharing) โดยไม่วิจารณ์หรือแนะนำเพื่อน อย่างเช่น “…ผมอยากแลกเปลี่ยน ห้องเรียนของผมทำแบบนี้…” โดยไม่มีการบอกว่า “…อาจารย์ควรทำแบบนี้ ให้เหมือนโรงเรียนของผม…” หรือบอกว่า “…ทำอย่างนี้ดีกว่า…” ด้วยกระบวนเช่นนี้ ทำให้เกิดแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเท่าเทียมกัน

๔. สะท้อนการเรียนรู้ (reflection) : เมื่อครูได้เล่าเรื่อง แล้วปิดท้ายด้วยการ “สะท้อน” ว่าตนเองเรียนรู้อะไรจากเรื่องเล่าที่เพิ่งเล่าไป หรือ PBLที่ได้ทำไป ได้เห็นคุณค่าความงามจากงานที่ครูทำ คือ เห็นนักเรียนเปลี่ยนแปลงทุกวัน

จริงอยู่ ที่คนเราสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องทำ reflection และ self-reflection แต่การฝึกบ่อยๆ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ถ้าทำจะทำให้การเรียนรู้นั้นคมชัด ลึกซึ้ง และรวดเร็วกว่ามาก ใหม่ๆ ผู้เขียนเองก็สับสนและเข้าใจผิด มีความซ้ำซ้อนระหว่างการเล่าว่าตนเอง (ฟังเพื่อนเล่า) “เรียนรู้อะไร” กับการ “สรุปความ” แต่ประเด็นที่สำคัญมาก คือ ครูได้ทบทวนว่าตนเองได้เรียนรู้อะไร เช่นเดียวกันกับการที่นักเรียนทำ AAR ภายหลังการทำ PBL แล้วได้สะท้อนว่า ตนเองเรียนรู้อะไรจากการทำ PBL ที่ก้าวหน้าไปกว่านี้ คือ การเขียน journal เขียนบทความ

การคิดทบทวนแล้วพูด ทำให้สมองได้จัดลำดับการเรียนรู้เป็นแบบหนึ่ง

การคิดทบทวนแล้วเขียน ก็ทำให้สมองได้จัดลำดับการเรียนรู้เป็นแบบหนึ่งเช่นเดียวกัน

ขอเพียงแต่เชียร์ให้ครูเล่าเรื่องเป็น ความสามารถคุณครูจะสูงขึ้นทันที

นอกจากนี้ โรงเรียนทั้ง ๕ แห่ง แสดงให้เห็นว่า PLC ไม่ได้เป็นพื้นที่สำหรับวิชาชีพครูเท่านั้น แต่ยังเป็นวงของ

๑. ผู้ปฏิบัติงานหรือวงของครูผู้ปฏิบัติ ผู้อำนวยการ ฯลฯ ทั้งในโรงเรียนของตนเอง และระหว่างโรงเรียนเครือข่ายที่ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน

๒. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้มีส่วนรับผิดชอบโครงสร้างสถานศึกษาในระบบ หรือกระทั่งตัวนักเรียนเอง

PLC จึงเสมือนเป็นพื้นที่การเรียนรู้ของคุณครู ทำให้คุณครูรู้สึกไม่โดดเดี่ยว มีเพื่อนร่วมเดินทางไปด้วยกัน โรงเรียนบางแห่งยังใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์การอื่น เช่น ระบบส่งต่อนักเรียน ดูผลลัพธ์ความก้าวหน้า

“…วง PLC เป็นของใหม่ที่ใครๆ ก็ตื่นเต้น มาทำวงดีกว่า ไม่ต้องให้ใครทำ ทำกันเองนี่แหละ เขาก็อธิบายให้ฟัง เอาเข้าทีมวิชาการ มี ผอ.นั่งหัวโต๊ะ มีรองฯ สมศรี ครูอ้อย ฝ่ายบุคลากร น้องแอนประมาณ ๖-๗ คน คือฝ่ายบริหาร ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายวิชาการ หัวหน้าโครงการคือครูแอนและครูอ้อย ผอ. ฝ่ายบุคลากรบอกว่าเราจะทำยังไงในการส่งต่อ ถ้าเราส่งแค่เป็นเล่มไป ถ้าคุณครูเขาเปิดอ่านมันก็ดี แต่ถ้าเขายังไม่มีเวลาเปิดดูจะทำอย่างไรให้เขารับรู้ไปเลย แอนบอกว่าคิดออกแล้ว เป็น concept กิจกรรมล้อมวงพูดคุยส่งต่ออะไรสักอย่าง เขาตั้งชื่อให้กิจกรรมแล้วลงในปฏิทินโรงเรียน จริงๆ แล้วช่วงนี้มันปิดภาคเรียน แต่ ผอ. บอกเลยว่าเราเปิดก่อน เราจะเปิดทำงานวันที่ ๕ แล้วก็ทำปฏิทินออกมาว่ามีกิจกรรมล้อมวงคุย วงก็จะเป็นหลายวง เราออกแบบว่าช่วงเช้าจะเป็นการรับ ช่วงบ่ายเป็นการส่ง ช่วงเช้าครูอ้อยก็ต้องรับจาก ป.๑ ใช่ไหม เราต้องเจอกับครู ป.๑ นั่งวงแบบนี้ ไม่ได้นั่งพื้นแต่นั่งโต๊ะ ใช้ห้องสารสนเทศ ห้องนั้นก็เป็นวง ป.๑-๒ เขาก็เอาข้อมูลนักเรียนรายบุคคลมา ตอนนั้นก็มีคำสั่งแล้วว่าครูอ้อยเป็นครูประจำชั้น ป. ๒/๒ มีรายชื่อเด็กส่งมาให้เรา แล้วเอาครูประจำชั้นเดิมเขามานั่งกับเราเลย ครูอ้อยได้ลูกศิษย์ชื่อนี้มานะ ให้เขาคัดกรองให้เรา โดยใช้แบบด้านการเรียนรู้ พฤติกรรม เศรษฐกิจ ความเสี่ยง สุขภาพอะไรหมดเลย เวลาครึ่งวันก็ตั้งกติกาว่าเอาที่เด่นเลยนะ ถ้าเกิดว่าเรื่องการเรียนปกติเราก็อาจจะไม่ลงประเด็นลึก แต่ถ้าเป็นพฤติกรรมที่มันจะเป็นปัญหาต้องแก้ ความเสี่ยง เศรษฐกิจของครอบครัวที่จะต้องดูแล ต้องให้ชัดในวงเลย ครูอ้อยชอบบรรยากาศในวงที่ดูไม่เป็นทางการ เป็นเหมือนมานั่งคุยเล่า บางทีก็มีพฤติกรรมเด็กที่แปลกๆ นะ ยิ่งเล่ายิ่งสนุกและมันยิ่งได้ บันทึกในแบบคัดกรองก็บันทึกไป บันทึกส่วนตัว short note ก็ดอกจันเอาไว้ แต่ละคนก็จะได้ตรงนี้ เหมือนกับว่าเราได้ตั้งรับได้ออกแบบสำหรับปีการศึกษาใหม่ตรงนั้น พอภาคบ่ายครูอ้อยก็ไปเป็นเหมือนครู ป.๑ คือต้องไปส่งให้ครู ป.๓ นอกจากเล่าพฤติกรรม บางทีก็อาจจะแถมวิธีการถ้าคุณครูเขาอยากรู้ คำว่ามันบางทีเราไปใช้เขียนไม่ได้ แต่เราพูดได้ไง ทำยังไงให้มันอ่านออก เราก็ว่าไป แต่บางอย่างเราก็อธิบายยากในการเขียน แต่มันง่ายในการพูด ทำไปแล้วเป็นครั้งแรกของโรงเรียน…”

ขนิษฐา อาษาชำนาญ ร.ร.อนุบาลสตูล จ.สตูล