คุยกับครูแตงโม ผู้สอนพิเศษให้เด็กพิเศษ

จุดเริ่มต้นของการทำงานกับเด็กพิเศษ

คูรแตงโม แตงโมไปหาประสบการ์ณ จากที่เรียนในเชียงใหม่เสร็จ รู้สึกว่ายังไม่มีประสบการณ์ไรเยอะแยะ เลยไปทำงานในกรุงเทพ ไปอยู่ที่ศูนย์เสริมพัฒนาการเด็ก เด็กปีกขึ้นบันได เล่นสไลด์ เด็กทั่วๆไป  อันนั้นก็คือครอบครัวที่มีกำลังทรัพย์ในการสนับสนุนเด็ก แตงโมทำไปอยู่1ปี อยากเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กออกไปเรียนต่อที่มหิดลระหว่างเรียนได้เคส จากพี่ๆ ที่เรียนด้วยกัน เป็นเด็กออสิติก สมาธิสั้น เด็กที่เรียนรู้ช้า อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แตงโมรู้สึกว่าเราเหมือนได้ กลับมาทำในสิ่งเราว่าตั้งใจอยากทำตั้งแต่แรก คือทำงานอะไรก็ได้ที่พัฒนาเด็ก เรารู้สึกเองว่าทำทุกวันโดยไม่เบื่อ อยากตื่นเช้าไปทำงาน

ทำไมต้องเด็กพิเศษ

จริงๆเด็กพิเศษ คือแตงโมเรียนมาด้านจิตวิทยา แตงโมก็รู้ว่าการสร้างพื้นฐานที่ดีให้กับเขา ก็ทำให้สังคมเราดี อนาคตเราดี มันทำให้ย้อนกลับมา สู่ตัวเราด้วย เพราะเราเรียนมาทางด้านเด็ก ด้านคนที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต คนป่วยที่มีความเครียด ซึมเศร้า แตงโมคิดว่า ในสังคมยังขาดบุคคลากรที่ช่วยเหลือเขา ซึ่งเรามาจบมาทางด้านนี้แล้วไปไปช่วยเด็กปกติ ซึ่งมีหลายคนช่วยเหลือได้ แตงโมเจอเด็กพิเศษด้วยความบังเอิญ ก็อยากช่วยเหลือ มากกว่าเพราะรู้ว่าเรามีศักยภาพที่ช่วยเหลือเขาได้

เด็กพิเศษถือเป็นโจทย์ยากของครูไหม

ครั้งแรกไปบ้านเด็ก เด็กถุยน้ำลายใส่ ปิดประตูใส่หน้าเรา ไม่ทำ แล้วก็จะแบบหัวเราะ เขาก็รู้ว่าเขาชนะแล้ว แต่แตงโมก็รู้สึกว่า วันนี้จะไม่สอนแหละ วันนี้จะอยู่เฉยๆเป็นเพื่อนเขาให้เรารู้จักกัน สรุปว่าก็อยู่กันเป็นชั่วโมง แล้วเขามานั่งข้างเราๆ เราก็แค่คุยกับเป็นยังไงชอบอะไร แล้วก็ชวนวันนี้เรามาระบายสีกันไหม เขาก็รู้สึกว่า เรารอเขาได้ เราไม่ได้บังคับเขาจะทำอะไร เพราะทุกครั้งที่มีครูมาสอนที่บ้านจะมาบอกเขาว่าทำนั้นสิ ทำโน้นสิ เด็กหลายๆคนเรา เราไม่ได้บังคับเขา ให้เขาเลือกทำให้สิ่งเขาอยากทำจริงๆ เหมือนเราเป็นเพื่อนเขามากกว่าที่เราจะเป็นครู   

อย่างผมถ้าเจอเหตุการ์ณแบบนี้อาจจะคิดว่าเด็กคนนี้ก้าวร้าวจังเลย ไม่ยุ่งแหละหันหลังแล้วก็เดินกลับ 

ก็รู้สึกว่า ถ้าเราไม่อดทน เราก็ไม่สามารถเข้าถึงเด็กได้ ก็แค่วันนั้นว่าถ้าเราไม่ทำแล้ว เราจะทำงานอะไรต่อไป ต้องไปนั่งเริ่มต้นใหม่คิดต่อ แตงโมรู้สึกว่าลองทนอีกนิดหนึ่ง มันก็เหมือนแค่รออีก1นาทีแต่อาจนานหน่อยหรือซ้ำๆ 1นาที แต่50รอบอย่างเนี่ยก็รอไปสุดท้ายมันได้ผล เราใช้ความถึก ความอดทนของเราในการรอเขา แล้วเขาก็รู้สึกไว้ใจเรามากขึ้น

เวลาครูรอเด็ก ครูไหม เขารู้ไหมว่า ครูรอ

แตงโมคิดว่าเขารู้ว่านะ แตงโมคิดว่า ไม่ว่าจะเด็กพิเศษหรือเด็กปกติ เขามีเซนอะไรบางอย่าง เขารู้ว่าใครรักเขา เขารู้ว่าคนจริงใจกับเขาจริงๆ ถึงเราจะดุเขา สุดท้ายเขายังวิ่งเข้ามากอด พอมาอีกวันหนึ่งเขาก็ไม่ได้โกรธเรา

ดูมันย้อนแย้งกันนะครับ ครูบอกว่าครูมีความสุขในการทำงานแต่ครูต้องอดทน

นั้นนะสิเนอะ แตงโม คิดว่าความอดทนของเรา เราได้การตอบรับจริงๆ เรารู้สึกแบบ  เราไม่ได้เก่ง ไม่ได้มีความสามรถพิเศษอะไร ความอดทน เหมือนใส่ใจของเราต่อเด็กแบบเนี่ย เด็กก็รู้ว่าสึกเด็กได้รับการพัฒนาที่ดี ในตัวเราก็ไดรับการพัฒนาไปด้วย ทำให้ทุกอย่างไม่ใช่แค่ทำงานได้ดีขึ้นแต่หมายถึงว่าในชีวิตเราอดทนกับปัญหากับความสุขค วามทุกข์ที่มา เราอดทนกับมันได้ดีขึ้น จัดการกับตัวเองได้ดีขึ้น

ในยุคที่ทุกไวอย่างนี้ ครูกลับสอนเรื่องความอดทน อย่างไร

จริงๆพอเขาได้สัมผัสมันแบบธรรมชาติ เขาไม่ก็ได้มากหรือน้อยไปมากกว่าเดิม ถ้าอยู่ในสถานการ์ณ์ที่เขาเป็นอิสระสำหรับตนเองครั้งแรก เขาอาจจะเหมือนเล่นที่เขาอยากเล่นในสิ่งเขาอยากทำ เหมือนรอไม่ได้พอเราให้อิสระเขา พอเรารู้สึกว่าเราเป็นเพื่อนเขาให้เขาทำไรก็ได้ เขาจะกลับมาหาเรา เพราะเขารู้สึกไว้ใจเรา เราก็จะถามเขาว่าเธอเล่นอะไรละ เล่นด้วยกันไหม หรือ เราเป็นผู้นำบ้างเขาเป็นผู้นำบ้าง สลับกัน

ธรรมชาติทำไมถึงช่วยเขาได้ขนาดนั้น

แตงโมว่าเราเกิดจากธรรมชาติเนอะ แล้วเหมือนมนุษย์ก็กลับไปสู่อะไรที่มันเป็นรากของเขา ธรรมชาติก็คือรากของมนุษย์เราเอาตัวออกจากธรรมชาติ ห่างกันเกินไปเรามีเทคโนโลยีโยที่แบบยิ่งเห็นในสังคมเมือง คือเราก็เดินห้างเราก็เล่นไอแพต เล่นคอมพิวเตอร์ มันก็เหมือนห่างออกไปเรื่อยๆ แต่พอกลับเข้ามาแหละ มันเหมือนเจอเพื่อนสนิท หรือเจอคนที่คุยกันรู้เรื่องก็จูนติดแล้ว

ครูคิดว่าเราอยู่ได้ถ้าไม่มีเทคโนโลยี

ใช่ๆแตงโมรู้สึกอย่างนั้นนะคะ รู้สึกมันเหมือนแค่ อ่อ พอถอดปั๊กอะไรออกแล้วมันก็อยู่ได้นิ เหมือนเรา สมมุตว่าวันหนึ่งเราไม่มีไฟใช้ ถามว่าเราอยู่ได้ไหม มันก็อยู่ได้ ไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ ก็น่าจะอยู่ได้ คือทุกคน สามารถมีทักษะในการเอาตัวเองรอด กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่

ตอนนี้มนุษย์เราไปสร้างความคิดหนึ่งว่าเราขาดเทคโนโลยีไม่ได้เลย ครูอธิบายยังไง

มันก็เหมือนว่ามันมีเข้ามาละ มันก็กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นและก็ทำให้มันติดต่อสื่อสารหรือทำงานได้ง่ายขึ้น แต่ว่า ลองคิดดูว่าสมมติว่าไม่มี ไม่มีคนผลิต เทคโนโลยี แสดงว่าเขาก็ทำไงอยู่แต่ว่าสุดท้ายแล้วมีหรือไม่มีก็ได้ มนุษย์สามารถอยู่รอดได้ แตงโมว่า ให้เป็นธรรมกับเขามากที่สุด สมมติว่าเด็ก มาจากในเมืองพ่อแม่ให้เล่นไอแพท แตงโมก็จะไม่แบบ โยนไอแพคเขาทิ้ง แบบบอกว่าอันนี้ไม่ดีนะ แล้วก็ไม่ตัดสินด้วยว่าดีมีไม่ดี มันคือธรรมชาติของของเขาที่ได้ เรียนรู้จากสังคมมาว่า คือของเล่นของเขา เราจะแบบอ่ะอันนี้ ของเล่นของหนู เป็นยังไง แล้วเราก็เอามาลองเรียนดูสิ เปลี่ยนว่า ถ้าสมมติว่า ลองเล่น ให้แบบเหมือนให้มันอยู่ในเกมกระดาษเราเอาทำลองเกมอย่างเนี่ย มันยังสนุกได้ไหทเราสามารถผลิตเกมในไอแพคที่เราเล่นได้ไหม ช่วยกันสร้าง ก็ช่วยกันทำโดยที่แตงโมไม่ได้เป็นคนทำเอง  โดยถามเด็กว่าอันนี้ทำยังไง เล่นยังไง เขาก็จะพยายามออกมาให้มันอยู่ในกระดาษเราเล่นแบบนั้น เราก็จะถามเขาว่า อันไหนนสนุกกว่า เขาก็บอกว่า มันก็สนุกเท่าๆกัน นี้ก็สนุกเหมือน คือมันเหมือนว่ามีทางเลือกให้เขามากยิ่งขึ้นสมมติว่าหนึ่งเขาลืมไอแพคมาเขาสามารถเล่นกับสิ่งที่เขามีรอบตัวได้

ห้องเรียน พอดี พอดี หลักสูตรอะไรอย่างไรไหม

ก็ถามเขาว่าวันนนี้อยากเรียนอะไร อือ ใช่ บางทีเขาอาจะบอกว่าไม่รู้ อย่างนี้แล้วถามว่าชอบทำอะไรที่สุด  แบบอาจจะถามโยงไปว่า ชอบเรียนอะไรที่โรงเรียนบางทีเขาก็จะบอกว่า คณิตศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ หรือว่าชอบอะไรในสิ่งนั้น อยู่บ้านทำอะไร อยู่บ้านเล่นอะไร ให้เขาเล่าให้ฟัง เราก็บอกว่าลองมาทำดูไหม สมมติว่าชอบวิทยาศาสตร์ จะเอาหนังสือแตงโมก็มีหนังสือ ให้ดูว่ามันมีพวกการทดลอง หรือร่างกายของเรา อยากรู้เรื่องอะไร ลองมาเรียนรู้ด้วยไหม มาแบบวาดรูป วันนี้ลองวาดรูป ลองประดิษฐ์ หรือสิ่งประดิษฐ์อะไรขึ้นมาที่เขาชอบเขาก็จะรู้สึกว่าเขาได้เลือกได้เอง

ถ้าไม่มีหลักสูตรแบบนี้ วิธีการนี้ก็นำไปใช้ในห้องเรียนปรกติยาก

ถ้ายังมีกรอบแบบนี้วิชาสังคม ภาษาไทยอย่างงี้ มันก็มันจะเกิดขึ้นได้ยากแหละเพราะบางทีการเรียนรู้ของเด็กอ่ะ ก็เด็กเขาอยากรู้อย่างนี้ก่อนแล้วมันเอาไปเชื่อมโยงได้ว่ามันจะไป คณิตนิดหน่อยเป็นวิทยาศาสตร์ด้วย เป็นภาษา เป็นสังคม เป็นภาษาไทย เหมือน1กิจกรรมอ่ะ มันมีหลายวิชาอยู่ในนั้น ในความคิดของแตงโมถ้าเขายังล๊อกว่าเป็นแต่ละวิชามันก็ไม่ได้ ใจจริงก็อยากให้รื้อระบบใหม่

ทำไมต้องรื้อ

คงเป็นเหมือนเขาเรียกอะไร เราต้องไปภาพาหนะคันใหญ่ๆ สมมติว่าเรานั่งรถเมล์ ทุกคนต้องเดินทางไปด้วยกันแบบมีคนขับเพียงคนเดียว และต้องพาคนไปได้เยอะที่สุดพาหนะนี้จุคนได้เยอะที่สุด เราไม่สามารถตัดเสื้อให้ทุกคนใส่ได้ เราต้องให้ทุกคนให้เสื้อโหลเหมือนกันหมด ต้องขึ้นรถเมล์คันเดียว ทำไมไม่มีคนที่เดินไปปั่นจักรยานไป หรือ อาจจะสร้างพาหนะตัวเองแล้วไปตามเป้าหมาย คือทุกคนพยายามทำให้มันดีแหละเขามาใส่สร้างกรอบที่คิดว่าดี แล้วทุกคนไปด้วยกรอบนี้มากกว่า แตงโมเลยว่า ไม่งอกงามได้ เพราะเราไม่เชื่อในศักยภาพของทุกคน

แล้วครูแตงโมเชื่อในศักยภาพของคนไหม

เชื่อค่ะ ยังไงเราเชื่อในตัวเองเราออกมาทำ คนที่ชื่อเหมือนกัน ออกมาเหมือนกันสุดท้ายแล้วเราอาจจะจับมือกัน สร้างพาหนะอีกอันหนึ่งหรือช่วยกันสนับสนุนอีกพาหนะที่ไม่ต้องเป็นรถคันใหญ่

สามารถร่วมคิดเปลี่ยนเรียนรู้กับครูแตงโมได้ทาง อีเมล์  [email protected]